School, Family, and Community Partnerships. By Joyce L. Epstein and Associates

เมื่อพิจารณาจากหนังสือ ซึ่งผู้เขียนได้อธิบายกรอบแนวคิด (Six Types of Involvement-Six Types of Caring) ไว้ ๖ ด้านที่มีส่วนร่วม โดยสรุปดังนี้ คือ  (๑) พ่อ แม่หรือผู้ปกครอง (Parenting) ความช่วยเหลือทั้งหมดมีจุดเริ่มต้นจากการสนับสนุนของครอบครัว รวมถึงสภาพแวดล้อมที่บ้านที่มีสำหรับเด็ก และความช่วยเหลือของโรงเรียนกับความเข้าใจในเรื่องนี้ของครอบครัว (๒) การสื่อสาร (Communication) การจัดตั้งหรือการเริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนแปลงการสื่อสารที่ใช้ทั้ง ๒ ทาง จากความหลากหลายของเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับหลักสูตรของโรงเรียนและความก้าวหน้าของเด็ก (๓) การมีจิตอาสาหรือการเป็นอาสาสมัคร (Volunteering) การสรรหาและการจัดการของพ่อ แม่ ช่วยเหลือ ที่โรงเรียน บ้าน และที่ตั้งอื่นๆ หรือสถานที่ต่าง ๆ และรวมถึงผู้ที่คอยเฝ้าดูเด็กสำหรับการทำกิจกรรมของเด็ก ๆ (๔) การเรียนรู้ที่บ้าน (Learning at Home) การจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารและแนวความคิดสู่ครอบครัวเกี่ยวกับการช่วยเหลือนักเรียนอย่างไรกับการทำงานที่บ้าน และหลักสูตรต่าง ๆ กับความสัมพันธ์กับวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ (๕) การทำการตัดสินใจ (Decision Making) การมีสมาชิกจากครอบครัวเข้ามาร่วมและและเป็นตัวแทนและความเป็นผู้นำของคณะกรรมการโรงเรียน และให้การสนับสนุนเด็ก ๆ ในการตัดสินใจของโรงเรียน และ (๖) การมีส่วนร่วมกับชุมชน (Collaborating with the Community) การมีอัตลักษณ์และการบูรณาการทรัพยากรต่าง ๆ และการบริการจากชุมชนสู่จุดแข็งหลักสูตรของโรงเรียน และความสามารถของนักเรียนสู่การบริการชุมชน (Joyce L. Epstein and Associates, ๒๐๑๙ : ๑๖)

ประกอบตารางที่ผู้เขียน Prof. Dr. Joyce L. Epstein ได้จัดทำขึ้น โดยนำมาปรับใช้ในการทำงานให้กับนักศึกษาในชั้นเรียน ซึ่งทำให้นักศึกษาได้มีการวิเคราะห์และเสนอแนะจากประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานจริง โดยทำให้มีมุมมองที่กว้างขวางและชัดเจนมากยิ่งขึ้น

วัยวุฒิ บุญลอย

๓ มีนาคม ๒๕๖๗

เกี่ยวกับ waiwoot

to change idea with everybody.
ข้อความนี้ถูกเขียนใน Uncategorized คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น